ข้อมูลประเทศลาว

นครหลวงเวียงจันทน์

  • 14 ก.พ. 2567
  • ข้อมูลทุกแขวงประเทศลาว

นครหลวงเวียงจันทน์

นครหลวงเวียงจันทน์ หรือ นะคอนหลวงเวียงจัน (ลาวນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນนะคอนหลวงเวียงจัน) เดิมชื่อ กำแพงนครเวียงจันทน์ (ກຳແພງນະຄອນວຽງຈັນ) เป็นเขตปกครองที่ตั้งอยู่บริเวณภาคกลาง ครอบคลุมพื้นที่เมืองหลวงของประเทศลาว เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแขวงเวียงจันทน์[3]

นครหลวงเวียงจันทน์เป็นเขตการปกครองที่มีการพัฒนามากในบรรดา 17 แขวงของประเทศลาว โดยตั้งอยู่ชิดกับบริเวณโค้งลำน้ำแม่น้ำโขง ติดชายแดนของประเทศไทย โดยมีสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 เชื่อมการเดินทางระหว่างประเทศ มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 3,920 ตารางกิโลเมตร (1,510 ตารางไมล์) ตัวเมืองเวียงจันทน์ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช บริเวณเขตเมืองเก่าเป็นที่ตั้งของวัดวาอาราม พิพิธภัณฑ์ อนุสาวรีย์ และสวนสาธารณะ

Share it
blog-image

แขวงหลวงน้ำทา

  • 14 ก.พ. 2567

หลวงน้ำทา (ลาว: ຫຼວງນໍ້າທາ, ຫລວງນໍ້າທາ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดของประเทศ ทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศใต้ติดกับแขวงบ่อแก้ว ทิศตะวันออกติดกับแขวงอุดมไซ และทิศตะวันตกติดกับประเทศพม่า

อ่านต่อ
blog-image

แขวงสุวรรณเขต

  • 14 ก.พ. 2567

สุวรรณเขต หรือ สะหวันนะเขต (ลาว: ສະຫວັນນະເຂດ, สะหวันนะเขด) เป็นชื่อหน่วยทางการปกครองระดับแขวงหนึ่งของประเทศลาวอยู่ทางตอนกลางของประเทศ มีพื้นที่​มากที่สุดในประเทศคือ 21,774 ตร.กม มีประชากรมากกว่า 1.037 ล้านคนจากการสำรวจสำมะโนครัวใน พ.ศ. 2561 พลเมืองส่วนใหญ่ร้อยละ 70% ทำเกษตรกรและอุตสาหกรรม ทิศเหนือ​ติดกับ แขวงคำม่วน​ ทิศใต้ติดกับแขวงสาละวัน​ ทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม​ และทิศตะวันตกติดกับไทย

อ่านต่อ
blog-image

แขวงสาละวัน

  • 14 ก.พ. 2567

สาละวัน (ลาว: ສາລະວັນ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงทางตอนใต้ของประเทศ เป็นแขวงหนึ่ง​ที่มีวัฒนธรรม​หลากหลาย ชื่อของแขวงสาละวันมาจากบริเวณที่ตั้งเมืองสาละวันมีต้นฮังหรือต้นรังเป็นจำนวนมาก ต้นรังในภาษาบาลีเรียกว่า สาละ ส่วนคำว่า วัน แปลว่าป่าไม้ ดังนั้นคำว่า สาละวัน จึงหมายความว่า "ดินแดนแห่งป่าไม้รัง"

อ่านต่อ